วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บรรทุกหนัก เสริมแหนบเท่าไหร่ดีนะ!!

แหนบสำคัญกับรถยังไง!!! จะเสริมต้องเสริมเท่าไหร่ดีนะ!!!!

      แหนบ หรือที่เรียกว่า Leaf Spring ของรถยนต์นั้นเอาไว้ทำอะไร คำตอบคือเอาไว้ทำให้เกิดความนุ่มนวลในการขับขี่ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีโช้คใช้งานควบคู่ด้วยนะครับ (เดียวจะกล่าวถึงโช้คในบทความหน้าครับ)

ภาพด้านบนคือกระบวนการการทำแหนบ (เครดิตตามภาพเลยครับ)

แหนบที่ติดตั้งมาจากโรงงาน
    โดยทั่วไปแล้วโรงงานประกอบรถยนต์ (ในไทย) จะรับข้อมูลดีไซน์การออกแบบมาจากบริษัทแม่ของรถญี่ห้อนั้นๆ มีสิ่งที่สำคัญมากๆอยู่อย่างเดียวคือ ประกอบ 2 ข้างให้ค่าความแข็งสปริงมีความสมดุลกันทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือถ้า ค่ากลางจากบริษัทแม่กำหนดเป็น 20 บวกลบได้ 10 (ตัวเลขสมมุตินะครับ) แล้วจะมีเครื่องหมาย 3 แบบ คือ บวก (+) และค่ากลาง (0) และค่าลบ (-) ถ้าใส่ด้านซ้ายบวกก็ต้องใส่ด้านขวาบวก ลบกับลบ ศูนย์กับศูนย์ จะทำให้เกิดความสดดุลของแรง (ความสดดุลของพลังใน Star War) ส่วนมากแล้วรถกระบะในประเทศไทยก็จะอยู่ที่ 600 - 1,000 กิโลกรัมประมาณนั้น

หากขนของเยอะเป็นประจำ (พ่อค้าแม่ค้า)
     ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับค่าต่างๆที่มีความหมายต่อแหนบกันก่อน (ขออธิบายในมุมมองคนอ่านไม่มีพื้นฐานวิศวกรรมนะครับ)
    1. Spring Rate (สปริงเรท) คือ ค่าความแข็งของสปริง กล่าวคือ ถ้าหากเรากดสปริงลงไป 1 เชนติเมตรเรานั้นสามารถกดได้แบบง่ายๆ แต่พอเรากดลงไปอีก 2 เชนติเมตร เป็น 3 เชนติเมตรเราจะรู้สึกว่ากดได้ยากขึ้นนี่แหละครับคือค่าสปริงเรท
    2. Spring Load (สปริงโหลด) คือ น้ำหนักสปริงสามารถรับได้สูงสุดนั้นเอง กล่าวคือหากเยอะกว่านั้นแล้ว สปริงนั้นก็เป็นเหมือนเชือกเส้นนึงนี่เอง
    3. Load Rate (โหลดเรท) คือค่าที่บอกว่าถ้ามันยืดไปเท่านี้แล้วแรงของสปริงจะเป็นเท่าไหร่มันเอาไว้สำหรับออกแบบว่าสปริงควรจะมีความยาวเท่าไหร่ คือเอาไว้ดูว่ามันจะต้องสามารถยืดหรือหดได้เท่าไหร่
    4. น้ำหนักของช่วงล่าง (Unsprung Weight)
    5. น้ำหนักตัวรถและแชชชี (Sprung Weight)
    6. อัตราการรับน้ำหนักของล้อ (Wheel Rate) คือ ปกติก่อนชื้อล้อรถยนต์จะต้องดูก่อนว่าล้อรับน้ำหนักได้สูงสุดเท่าไหร่เพราะล้อนั้นรับน้ำหนักในแนวดิ่งโดยตรงครับ
    7. อัตราการรับน้ำหนักของยาง (Tire Load) โดยปกติแล้วที่แก้มยางจะมียอกด้วยครับ เดี๋ยวผมจะมาแนะนำต่อไปครับ
    8. ค่าความแปรผันต่างๆที่มีผลต่อค่าความแข็งของสปริง (Variable Rate Springs) เป็นค่าแผื่อครับเอาง่ายๆเลยครับก็ทุกคนสามารถกำหนดค่านี้ได้เองครับ คือถ้าบรรทุก 2 ตันก็เผื่อๆหน่อยเป็น 3 ตัน ค่าของ Variable Rate Springs นี้ก็จะเป็น 1.5 (เท่านั้นเอง)
    9. Effect On Rate คือตัวแปรที่มีผลต่อค่าต่างๆของปริง เช่น (เรากำลังพูดถึงแหนบรถยนต์นะครับ)
จำนวนของช้นสปริง --- มีผลกระทบมาก
ความยาวของปริง ---- มีผลกระทบน้อย
ความกว้างของสปริง --- มีผลกระทบมาก
ความหนาของสปริง --- มีผลกระทบมาก

K = ค่าความแข็งสปริง หน่วย ปอนด์/นิ้ว
N = จำนวนของชั้นสปริง หน่วย ชิ้น
W = ความกว้างของสปริง หน่วย นิ้ว
T = ความหนาของสปริง หน่วย นิ้ว
L = ความยาวของสปริงจากกลางถึงขอบ หน่วย นิ้ว

หมายเหตุ : 1. ค่า K ของสปริงต้องดูที่กล่องที่เขาบอกมาครับ
2. หากกลับสูตรไม่เป็นก็กรุณาโพสต์ไว้ข้างล่างแล้วกันครับเดี๋ยวคำนวนให้
3. หากเสริมแล้วต้องไปแจ้งขนส่งด้วยนะครับ ไม่งั้นโดนปรับทีนึง 1,000-2,000 บาทเลยนะครับ

สุดท้าย! กระผมยังมีบทความด้านเทคนิคต่างๆอีกมากมายนะครับยังไงฝากติดตาม BLOG ด้วยนะครับผม อ่อลืม มีงานออกแบบ เขียนแบบ ทำกราฟฟิคดีไซน์สวยๆ จ้างได้นะครับ ผมกับแฟนยินดีรับใช้ความ (Blog เพิ่งเริ่มจะยังไม่สวยนะครับ รอผมเขียน บทความเยอะๆ ก่อนแล้วค่อยตกแต่ง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น