วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สิ่งที่ต้องรู้ เรื่องของล้อแม็กซ์รถยนต์!!!

แม็กซ์รถยนต์



    แม็กซ์รถยนต์ มีสิ่งสำคัญอะไรบ้างสำหรับการใช้งาน วันนี้มาอธิบายแบบเจาะลึกกันไปเลยครับ

อักษร   ชื่อเรียก                ความหมาย     หน่วยวัด
  15       Rim Diameter   เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ นิ้ว
   6       Rim Width         ความกว้างของกะทะล้อ นิ้ว
   JJ       Flange Profile ลักษณะของขอบกระทะล้อ -
  38       Offset                 ค่าออฟเซ็ต                 มม.
   4       Number of Holes จำนวนรู ที่ยึดกับดุม          รู
100       P.C.D.         ระยะห่างระหว่างรู พี ซี ดี มม.

ระบบมาตรฐาน (เผื่อมีคนอยากรู้ครับ)
     JWL  = Japan Wheel Light Metal ( เป็นเครื่องมาตรฐานสำหรับล้อรถเก๋ง ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น )
    JWL-T  = Japan Wheel Light Metal for Truck ( เป็นเครื่องมาตรฐานสำหรับล้อรถบรรทุกเล็ก ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น )
    VIA = Vehicle Inspection Association ( เป็นเครื่องมาตรฐาน จากสมาคมทดสอบยานยนต์ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานผู้ผลิตล้อ จะต้องผ่านการตรวจสอบจากสมาคมนี้ก่อน จึงจะสามารถนำอักษรนี้ มาลงได้ )

เครื่องหมายทั่วไป
     ET = สัญญาลักษณ์ย่อของค่า Offset
     H2 = Double Hump ( Round )
     ออฟเซ็ต คือ ระยะห่างระหว่าง หน้าแปลนยึดดุมล้อ (Hub Mounting Surface) ภายในล้อแม็กซ์ กับขอบกระทะล้อด้านนอก นับจากจุดกึ่งกลางเป็นจุดตั้ง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
     ออฟเซ็ตศูนย์ (Offset Zero) คือตำแหน่งยึดดุมล้ออยู่ศูนย์กลางล้อพอดี (นึกถึงถ้าเราเอาล้อแม็กซ์กว้าง 8 นิ้ว มาผ่าครึ่ง จะวัดได้จุดศูนย์กลางที่ 4 นิ้ว แล้วหน้าแปลนยึดดุมล้อด้านในอยู่ตรงที่ตำแหน่งยึดดุมล้อนั้น อยู่กลึ่งกลางพอดี) เรียกว่าออฟเซตศูนย์
     ออฟเซ็คบวก ( Positive Offset) คือตำแหน่งยึดดุมล้อ เยื้องออกมาด้านหน้า (ด้านนอกรถ หรือด้านหน้าของแม็กซ์) เริ่มจากจุดศูนย์กลางของล้อ ถ้าหน้าแปลนยึดดุมเริ่มเดินหน้าออกมา ถือว่าเป็น ออฟเซตบวกทันที เช่นเดินหน้าออกจากจุดศูนย์กลางมา 1 มิลลิเมตร เรียก +1 ถ้าเดินหน้าออกมา 10 มิลลิเมตร เรียก + 10 หรือเดินหน้าออกมา 38 มิลิเมตรเรียก + 38 เป็นต้น สังเกตง่ายออฟเซตยิ่งติดบวกมาก ลายด้านหน้าของล้อแม็กซ์ ก็จะออกมามาก หรือแทบออกมาเสมอกับขอบล้อด้านนอกเลย
     ออฟเซ็ตลบ (Negative Offset) ตรงข้ามกับออฟเซตบวก พวกนี้ตำแหน่งยึดดุมล้อจะถอยเข้าไปด้านในของล้อ นับจากจุดศูนย์กลางล้อ ยิ่งถอยเข้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งติดลบมากเพียงนั้น ล้อแม็คพวกนี้สังเกตได้คือ ลายด้านหน้าของแม็กซ์จะอยู่ลึกเข้าไปด้านในจากขอบล้อด้านนอก ยึ่งลึกมากยิ่งติดลบมากหรือที่เรียกๆกัน แม็กซ์ออฟลึก (โคตร) นั่นเอง

สังเกตอย่างไรว่า ล้อนั้นมีออฟเซตที่พอดีกับรถ
     ง่ายๆด้วยสายตา การมองใกล้ๆที่ซุ้มล้อ ล้อที่ใส่ยาง และเติมลมได้ในระดับพอดี จะต้องไม่มีส่วนของยาง หรือแม้แต่แก้มยาง (แลบ) เกินออกมานอกซุ้มล้อ หรือหุบหายจากซุ้มล้อมากเกินไป หรือใช้ไม้ยาวๆ หรือ ไม้บรรทัดทาบกับซุ้มล้อดูในแนวตั้งฉาก ถ้าออฟเซตบวกมากไป ล้อ และยางจะหุบเข้าไปในซุ้มล้อ แต่ถ้าออฟเซตบวกน้อยไปล้อ และยางก็จะยื่นออกมานอกซุ้มล้อ

วิธีดูเลข ออฟเซตของล้อ
     ล้อแม็กซ์บางรุ่น หรือเกือบทุกยี่ห้อจะกำหนดตัวเลขออฟเซ็ตมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่นปั้มเป็นตัวนูนบ้างเป็นลักษณะตอกพิมพ์ให้เกิดตัวเลข หรือเป็นสติกเกอร์แปะไว้ ซึ่งกำหนดตัวเลข เช่น Offset 42 ก็จะเป็น ET42 บ้าง +42 บ้าง หรือ 42 เฉยๆ แล้วแต่ลักษณะของบริษัทผู้ผลิตล้อ

วิธีวัดออฟเซตของล้อ
      มีส่วนมากที่ไม่มีการตีตัวเลข Offset ไว้ที่ล้อ (ปกติข้างกล่อง จะมีตัวเลข Offset , P.c.d. หรือสี มาให้ทุกกล่อง (อย่างผมเคยเป็นคนขายก็ง่าย ) แต่ถ้ากล่องหาย หรือเป็นแม็กซ์มือสอง เรามีวิธีวัดหาค่า Offset ได้อย่างคร่าวๆ สไตล์เรา Thaispeedcar และ เพื่อความเข้าใจเรื่อง Offset มากขึ้น ดังนี้ ล้อที่ยังไม่ใส่ยางถือว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าล้อที่จะวัดถ้าเป็นล้อที่ใส่ยางแล้ว การถอดมาวัดด้านนอกถือว่าจะได้ความถูกต้องแม่นยำกว่า และต้องรู้ขนาดความกว้างของล้อ ที่ระบุไว้ชัดเจน หรือใช้วิธีการวัด ด้วยอุปกรณ์การวัดง่ายๆ ด้วยการหาไม้ หรือวัสดุแข็งๆมาทาบกับล้อ ตลับเมตรหรือไม้บรรทัด และเครื่องคิดเลขอีกสักตัว


กรณีที่ Offset ไม่พอดี ล้อหุบมากเกินไป (ออฟเซ็ตติดบวกมากไป)
     ล้อ และยางหุบเข้าไปในซุ้มล้อมากเกินไป อาจไปชนกับช่วงล่าง ของรถ หรือ ล้อที่หุบเข้ามากไปจะทำให้การขับขี่ของรถไม่ดี ไม่สวยงาม
วิธีแก้ไข
     1. เสริมสเปเซอร์ 
      ถ้าระยะไม่มากซัก 1 - 2 เซนติเมตร มักจะใช้เป็นสเปเซอร์แบบอลูมิเนียมเจาะรู เสริมวางเข้าไปก่อน แล้วนำล้อมาใส่ ไขน๊อตติดให้แน่น สังเกตถ้าน็อตล้อสั้นเกินไป ต้องเปลี่ยนน็อตล้อให้ยาวขึ้นเพื่อป้องกันน็อตล้อหลุด ข้อดีคือง่าย และประหยัด ข้อเสียคือ เซนเตอร์ล้ออาจผิดพลาด สเปเซอร์แบบอลูมิเนียมมักเกิดอาการยุบ ล้ออาจเกิดอาการแกว่ง พวงมาลัยสั่น ศูนย์ล้อไม่ได้ หรือกลึงเป็นสเปเซอร์เหล็กถือว่าดีกว่า
     2 . ต่ออแดปเตอร์ 
     ถ้าระยะห่างเกิน 2 เซนติเมตรขึ้นไป วิธีที่ดีคงต้องใช้ อแดปเตอร์มาไขติดกับดุมล้อของรถชั้นหนึ่งก่อน ต้องสังเกตุให้ดี ว่าน็อตล้อนั้น ยื่นออกมาเกินอแดปเตอร์หรือไม่ ถ้าเกินต้องตัดน็อตให้สั้นลงเพื่อไม่ให้ไปติด หรือชนกับล้อแม็ค เหยียบเบรกไขน็อตยึดอแดปเตอร์ให้แน่นเท่ากันทุกตัวทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงไขล้อติดกับอแดปเตอร์อีกครั้ง เลือกใช้ได้ทั้ง อแดปเตอร์เหล็ก หรืออลูมิเนียมเกรดสูง หรือใช้อแดปเตอร์ที่สามารถเปลี่ยน PCD หรือระยะรูน๊อตล้อได้ในตัว การใช้อแดปเตอร์ถ้าเป็นแบบเหล็กกลึงขึ้นรูป คุณภาพต้องฝากไว้กับทางผู้ผลิต แต่ถ้าเป็นลักษณะสั่งกลึงให้มีบ่ารับดุมล้อและล้อแม็กซ์จะช่วยให้ได้เซนเตอร์มากขึ้น แต่ถ้าอแดปเตอร์มีความหนามาก จะทำให้มีน้ำหนักมาก เป็นภาระของช่วงล่างและเครื่องยนต์ อะแดปเตอร์แบบอลูมิเนียมเกรดสูง ถือว่าน่าเลือกใช้กว่า แต่ราคาสูง หรือถ้าราคาถูกหน่อย คงต้องเป็นมือสองจากนอก การใส่อแดปเตอร์ถ้าเป็นไปได้ เมื่อใช้งานได้สักระยะควรถอดล้อออกมา แล้วไล่อัดไขน็อตอีกครั้งหนึ่ง 

กรณีที่ Offset ไม่พอดี ล้อถ่างออกนอกซุ้มล้อ (ออฟเซ็ตติดลบมากไป)
     ล้อ และยางจะเกิน ออกมานอกซุ้มล้อ เกิดโคลนกระเด็นใส่ตัวถัง หรือถ้ารถเตี้ยมากไป ยางเสียดสีกับบังโคลน ซุ้มล้อ และยางเสียหาย ไม่สวยงาม แถมยังมีผลต่ออากาศพลศาสตร์ด้วย
วิธีแก้ไข
1. เจียร หรือพับขอบซุ้มล้อ
      เป็นวิธีแก้ไขในกรณีที่ล้อไม่ถ่างออกมามากเกินไป หรือเวลาวิ่งตรงไม่ติด แต่พอขึ้นเนิน เลี้ยว หรือบรรทุกหนักแล้วติด การพับซุ้มถือเป็นวิธีที่นิยมกันมาก แต่ต้องเป็นร้านที่มีฝีมือ เพราะถ้าสีเกิดเสียหายค่าทำสีจะแพงกว่าหลายเท่า แต่วิธีเจียรซุ้มเป็นวิธีที่ง่ายประหยัดกว่า แต่ข้อเสียคือ ซุ้มล้อจะไม่แข็งแรง ยืนพิงเบาๆก็อาจจะยุบได้ หรือถ้าไม่ป้องกันสนิม
2. ขยายซุ้มล้อ หรือ Wide Body
     การทำให้ซุ้มล้อกว้างขึ้น ถือเป็นวิธีที่ผู้ผลิตยังใช้กัน เป็นงานที่ต้องลงทุนทุบตัวถัง หรือตัดซุ้มล้อใหม่ให้กว้างขึ้น แล้วทำสี เป็นงานที่ลงทุนมาก แต่ก็ให้ความสวยงามมากขึ้น 
3. โป่งล้อ หรือ Over Fender
     เป็นลักษณะโป่งพลาสติก หรือไฟเบอร์เย็บติดกับซุ้มล้อ เป็นวิธีที่นิยมกันมากในหมู่รถพวก 4X4 จนถึงรถระดับแข่งขัน Circuit
4. ซื้อล้อใหม่ (เอาใหม่เลย)

ทำไมรถแข่งทางตรงถึงใช้ ล้อออฟลึกมากๆ
     พวกรถแข่งทางตรงพวกนี้มีแรงม้าสูง ยางที่ใช้ขนาด 335 – 355 นู่น ล้อก็ขนาด 10 นิ้ว – 12 นิ้ว หรือที่เรียกว่า Drag Slick ยางพวกนี้นับความกว้างที่หน้ายางกันเป็นนิ้ว เช่น 10.5 , 12.5 นิ้ว แถมเพลาท้ายของพวกรถ Drag จะสั้นกว่ามาก เน้นการส่งกำลังอย่างรวดเร็ว ลดปัญหาเพลาขาด จึงต้องใช้ล้อออฟลึก (โคตรๆ) มาใส่เพื่อให้ล้อยื่นออกมาพอดีกับตัวถังรถ

เวลาโหลดรถแล้วล้อจะไม่ติดซุ้ม ออฟเซตเปลี่ยนหรือไม่
     การโหลดรถไม่ได้เป็นการทำให้ ออฟเซตล้อเปลี่ยน แต่เป็นการทำให้มุม Camber เปลี่ยนไป ล้อจะมีการเอียงเข้าหาซุ้มล้อ บางครั้งล้อที่ออฟเซตลึก ทำให้ล้อยื่นออกมาด้านนอกซุ้มเล็กน้อย แต่พอโหลดรถ ล้อกลับเอียงหลบซุ้มได้พอดี ผลมาจากมุม Camber ที่เกิดจากองศาของปีกนกล่างนั่นเอง การเลือกล้อถ่างเพื่อโหลด แล้วหลบซุ้ม ต้องคำนึงถึงช่วงล่างว่าเป็นระบบไหน ถ้าเป็น Double Wishbone มุม Camber จะเปลี่ยนน้อยมาก แต่ถ้าเป็นแบบ Macpherson Sturts มุม Camber จะเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า แต่อย่าลืมการที่ล้อเอียง จะเป็นการทำให้ยางสึกหรอไม่เท่ากัน การเกาะถนนไม่ดี ยังไงการเลือก Offset ให้พอดี พอโหลดรถแล้ว ก็ปรับมุม Camber ให้กลับมาตามเดิมถือว่าย่อมดีกว่า



ออฟลึก ออฟตื้น มีผลกับช่วงล่างอย่างไร
     พวกแม็กซ์ออฟลึกๆ หรือล้อถ่างออกมาด้านนอก จะมีแรงกระทำต่อลูกปืนล้อ ลูกหมาก มากกว่า (คล้ายคานกระดกที่ย้ายน้ำหนักไปอยู่ด้านปลายมากขึ้น) เป็นการบั่นทอนอายุการใช้งานของพวกช่วงล่าง แต่ให้พลทางด้านการเกาะถนนเพิ่มขึ้น ต่างจากพวกออฟตื้นพวกนี้มีผลต่อช่วงล่างน้อยกว่า อายุการใช้งานของช่วงล่างยาวนานกว่า

เลือกออฟเซต ล้อหน้า – หลังต่างกัน แล้วจะเป็นอย่างไร
     พวกล้อหน้าหุบๆ ล้อหลังถ่าง ถ้าเป็นในขณะที่รถวิ่งตรงๆ ก็ยังไม่เป็นไร แต่จะมีผลตอนเข้าโค้ง มีผลทำให้มุมการเข้าโค้งไม่เท่ากัน รถอาจจะเกิดการ Under Steer หรือ Over Steer หรือเข้าโค้งได้ง่าย ออกโค้งได้ยาก ล้วนมีผลทั้งหมด ยิ่งต่างกันมาก จะมีผลมาก

จะเลือก Offset ยังไงให้พอดีกับรถ
      ก่อนที่เราจะซื้อล้อแม็กซ์งามๆมาใส่รถซักชุด ต้องแน่ใจก่อนว่า รถที่เราใช้อยู่กำหนดค่าออฟเซ็ตจากโรงงานมาเท่าไร แม้ว่าล้อเดิมจะกว้างเพียง 6 นิ้ว แต่พอซื้อล้อใหม่ขนาด 7 หรือ 8 นิ้ว Offset ของล้อใหม่ ก็ควรอยู่ในตำแหน่งที่โรงงานกำหนด แต่ถ้าเราซื้อล้อที่มีขนาดเกิน 8- 9 นิ้ว ใน Offset เท่าเดิม ล้ออาจจะกว้างเกินออกมานอกซุ้ม เนื่องจากความกว้างของล้อที่เพิ่มขึ้น การขยับ Offset ก็จะเกิดขึ้น เช่นให้ Offset มีค่า บวกน้อยลง แต่ต้องไม่มากจนยางถอยเข้าไปติดกับช่วงล่าง หรือสายอ่อนเบรก รวมถึงการเปลี่ยนช่วงล่างเช่น คานหน้า ปีกนก หรือแม้แต่คานหลังให้กับรถ พวกนี้จะทำให้การเลือก Offset เปลี่ยนแปลงไปตลอด จึงต้องมีการคำนวณหาระยะของ Offset และต้องทราบขนาดของ Offset ของล้อที่พอดีกับรถ และช่วงล่างที่เปลี่ยนมาใหม่ด้วยครับ 


การเลือกขนาดยางให้เข้ากับขนาดของกะทะล้อ
     ต่อไปนี้เป็นขนาดมาตราฐานในการเลือกขนาดของยางให้เข้ากับกะทะล้อ (มาตรฐาน OEM หรือ Original Equipment Manufacturing หรือ โรงงานประกอบรถ)


กรณีที่เลือกกะทะล้อไม่เหมาะสมกับยางรถยนต์
     ในกรณีที่เลือกยางรถยนต์ไม่ตรงกับขนาดของกะทะล้อนั้น จะทำให้เวลาเลี้ยวหรือขับขี่บนถนนที่พื้อเอียงจะทำให้ยางล้นออกมาเยอะเกินไปทำให้ ประสิทธิภาพและการสึกหรอเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ สังเกตในรูป
กรณีที่เลือกกะทะล้อได้เหมาะสมกับยางรถยนต์
     ในกรณีนี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการขับขี่ เช่น แรงฉุดลากรถเพิ่มขึ้น ลดการลื่นไถลของล้อ และยังทำให้ยางรถยนต์มีอายุใช้งานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย



ประเภทของ ล้อแม็กซ์
1. ล้อแม็ก แบบชิ้นเดียว (1 Piece Wheel)


2. ล้อแม็ก แบบประกอบ ( Assembly Wheel )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น